วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กสิณ


                 กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ
                 การเพ่งกสิณนับว่าเป็นอุบายกรรมฐานกองต้นๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่ออบรมจิต (อันเป็นแนวทางแห่งการบรรลุสำเร็จมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้) ซึ่งอุบายกรรมฐานมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกอง ภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้น จะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกองด้วยกัน
                  การเพ่งกสิณ คือ อาการที่เราเพ่ง (อารมณ์) ไม่ได้หมายถึงเพ่งมอง หรือจ้องมอง ไปยังวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น พระพุทธรูป เทียน สีต่างๆ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ แล้วเรียนรู้ รับรู้/บันทึก สภาพหรือคุณสมบัติเฉพาะ ของวัตถุ (ธาตุ) หรือสิ่งๆ นั้นไว้เช่น เนื้อ สี สภาพผิว ความหนาแน่น ความ เย็นในจิตจนกระทั่งเมื่อหลับตาลงจะปรากฏภาพนิมิต (นิมิตกสิณ) ของวัตถุหรือสิ่งๆ นั้นขึ้นมาให้เห็นในจิต หรือแม้กระทั่งยามลืมตาก็ยังสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวเป็นภาพติดตา
                  การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัว กล่าวคือ การเพ่งกสิณเป็นเสมือนทางลัดที่จิตใช้ในการเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าการเลือกใช้อุบายกรรมฐานกองอื่นๆ มากมายนัก ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายวิธีการเพ่งกสิณนั้น จิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องรู้ของจิต แทนอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และเมื่อภาพนิมิตกสิณเริ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จิตก็จะรับเอาภาพนิมิตกสิณนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต
                  จากนั้นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวจะค่อยๆ พัฒนาไปเองตามความละเอียดของจิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาพนิมิตกสิณนั้น เริ่มตั้งแต่ความคมชัดในการมองเห็นภาพนิมิตกสิณที่ปรากฏขึ้นภายในจิต และสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณนั้นได้อย่างชัดเจน ราวกับมองเห็นด้วยตาจริงๆ ไปจนกระทั่งการที่จิตสามารถบังคับภาพนิมิตกสิณนั้นให้เลื่อนเข้า-เลื่อนออก หรือหมุนไปทางซ้าย-ทางขวา หรือยืด-หดภาพนิมิตกสิณดังกล่าวได้ อันเป็นพลังจิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งนิมิตกสิณ
                   แต่ในที่สุดแล้วภาพนิมิตกสิณทั้งหลายก็จะมาถึงจุดแห่งความเป็นอนัตตา อันได้แก่ ความว่างและแสงสว่าง กล่าวคือ ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นฌานต่อไปตามลำดับ
กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก


                • พวกที่หนึ่ง คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน


                ปฐวีกสิณ (ธาตุดิน/ของแข็ง ไม่ใช่เฉพาะดิน) จิตเพ่งดิน โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นดิน หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "ปฐวี" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง" เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้ ก็จะข่มนิวรณ์ธรรมเสียได้โดยลำดับ กิเลศก็จะสงบระงับจากสันดาน สมาธิก็จะกล้าขึ้น จิตนั้นก็ชื่อว่าตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ เมื่อทำได้สำเร็จปฐมฌานแล้ว ก็พึงปฏิบัติในปฐมฌานนั้นให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌานสืบต่อไปได้


                 เตโชกสิณ (ธาตุไฟ ธาตุร้อน) จิตเพ่งไฟ คือการเพ่งเปลวไฟ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นไฟ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "เตโช" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"


                 วาโยกสิณ (ธาตุลม) จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นลม หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "วาโย" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"


                 อากาสกสิณ (ช่องว่าง) จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ คือการเพ่งช่องว่าง โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นช่องว่าง เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อากาศ" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง"


                 อาโลกสิณ (กสิณแสงสว่าง) จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง วิธีเจริญอาโลกกสิณให้ผู้ปฏิบัติยึดโดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น เวลาหายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโลก" หายใจออกให้ภาวนาว่า "กสิณัง"


                 อาโปกสิณ (ธาตุน้ำ/ของเหลว) จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ คือการเพ่งน้ำ โดยกำหนดว่าสิ่งนี้เป็นน้ำ หายใจเข้าให้ภาวนาว่า "อาโป" หายใจออกภาวนาว่า "กสิณัง" ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด

                 • พวกที่สองคือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสจริต


                 โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณัง


                  นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณัง


                    ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณัง


                    โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณัง จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน
                    ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้

อานุภาพกสิณ 10

                     กสิณ 10 ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติใน กสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตตุถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้นมีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน 4 แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่างๆ ตามแบบ กล่าวกันว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าฌานถึงกสิณ

อำนาจฤทธิ์ในกสิณในทางพุทธศาสนา

                      ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นคนมากๆ ได้ ให้คนมากเป็นคนๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทาง
                      อาโปกสิณ สามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝน ให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้น
                      เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณ สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้ เมื่ออากาศหนาว สามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้
                      วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้
                      นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
                      ปีตกสิณ สามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
                      โลหิตกสิณ สามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
                      โอทากสิณ สามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐาน ที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ
                      อาโลกสิณ เนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรง
                      อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้

วิธีอธิษฐานฤทธิ์

                      วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน 4 ก่อน แล้วออกจากฌาน 4 แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน 4 อีก
ออกจากฌาน 4 แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

สถานที่ฝึกกสิณในประเทศไทย

                      วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
                      ชมรมศิษย์สุวรรณโคมคำ ถนนนนทรี กรุงเทพมหานคร

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อสุภะ10

     อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้

      อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ



1. อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด



2. วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ



3. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม



4. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว



5. วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน



6. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป



7. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ



8. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง



9. ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน



10. อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก

อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นิวรณ์

นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (บาลี: nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป
นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ

    1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่


    2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่

    3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม

    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ

    5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆ กลัวๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ

กรรมฐานที่เหมาะสมแก่นิวรณ์


    
     -กามฉันทะ ให้ภาวนากายคตาสติ อสุภะ10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อทำลายความอยากในกามเสีย

    -พยาบาท ให้ภาวนาอัปมัญญาหรือพรหมวิหาร4 วรรณกสิน4 เพื่อเพิ่มความเมตตา

     -ถีนมิทธะ ให้ภาวนาอนุสสติ 7 คือพุทธานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ และอาโลกสัญญา(แสงสว่างเป็นอารมณ์ เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและความเพียร

    -อุทธัจจะกุกกุจจะ ให้ภาวนากสิน 6 คือ ปฐวีกสิน อาโปกสิน วาโยกสิน เตโชกสิน อากาสกสิน อาโลกกสิน เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิ

     -วิจิกิจฉา ให้ภาวนาจตุตธาตุววัตถาน (พิจารณาธาตุ4) อานาปานสติมรณานุสสติ เพื่อละความสงสัย

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พละ 5

พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ ได้แก่


     1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
 
2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
  
3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ

http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2012/06/meditation.jpg
4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน

 http://www.dmc.tv/images/ScoopUpdate/Dream07/D540915/C540917p3.jpg
5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ5เป็นธรรมที่กำจัดแก้อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์เป็นธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท

พละ5กับนิวรณ์5
     พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าพละห้า ไม่สมดุล ท่านว่าจะเกิดนิวรณ์ทั้งห้า

    -ศรัทธาพละมากกว่าปัญญาพละ จะทำให้มีโมหะได้ง่าย จนเกิดราคะ โทสะได้ง่าย ทำให้อาจเกิดกามฉันทะนิวรณ์หรือพยาบาทนิวรณ์
    -ปัญญาพละมากกว่าศรัทธาพละ จะเกิดวิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลสงสัย
    -วิริยะพละมากกว่าสมาธิพละ จะเกิดอุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ ฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
    -สมาธิพละมากกว่าวิริยะพละ จะเกิดถีนมิทธะนิวรณ์ ควางง่วงและท้อแท้ เกียจคร้าน

พละ5กับสติปัฏฐาน
     ตามหลักปฏิบัติสติปัฏฐานท่านว่าเป็นเหตุให้เกิด พละ5 ตามอารมณ์ของสติปัฏฐานที่ได้เจริญ
  
      -ศรัทธาพละ เกิดจากการกำหนดสัมปชัญญะหรืออิริยาบถย่อย เช่น กิน ดื่ม ชำระ ระหว่างปลี่ยนอิริยาบถ
      -ปัญญาพละ เกิดจากการกำหนดขณิกสมาธิหรืออารมณ์แทรก เช่น อาการ สุข ทุกข์ เฉย นึก คิด เห็น ยิน คัน ปวด ร้อน เย็น
      -วิริยะพละ เกิดจากการกำหนดการเดินจงกรม
      -สมาธิพละ เกิดจากการกำหนดในอานาปานสติ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สังคหวัตถุ 4

     http://www.dmc.tv/images/articles/pictureB/530917_01.jpg

      สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่


http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2012/10/04/d5b5dfe78gaggciiec9df.jpg

       1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjtQYSQH_dSUULnNc4q-uDP2b8h3mUdaQN4CAj8FIH-2sXa1LTRo-dAK58B0zeuatFpvV2iLySvteDXMlOgw4w3Ik4LtNh2v896LxIAoEHiGqRMOqaLXIN7h70qSRtN7LnDPtiRlukjEcec/s1600/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87.jpg

 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
       -เว้นจากการพูดเท็จ       -เว้นจากการพูดส่อเสียด       -เว้นจากการพูดคำหยาบ       -เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ



        3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
 


       4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พรหมวิหาร 4

        พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่ 
 http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2013/04/metta.jpg

        เมตตา    ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข  ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา   ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น  ความสุขเกิดการมีทรัพย์  ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค  ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้  และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 
 
http://pe1.isanook.com/ns/0/wb/i/url/p2.isanook.com/ns/0/ud/178/893296/news4-26-01.jpg

       กรุณา     ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

http://presse.david-kyriakidis.be/wp-content/uploads/2011/11/d%C3%A9pression.jpg
        ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

http://www.bloggang.com/data/vinitsiri/picture/1380252698.jpg
        ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

http://www.dhammadelivery.com/images/gallery/1069/big-28327.jpg
        มุทิตา     ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี  คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
  
http://www.sana-anong.com/ckeditor/ckfinder/userfiles2/images/pra6(1).jpg
      อุเบกขา  การรู้จักวางเฉย  หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม


วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขันติธรรม



ขันติธรรม คือ ความอดทน จำแนกไว้ 3 ประการ คือ



            ประการที่ 1 อดทนต่อความยากลำบาก หมายความว่า อดทนต่อทุกข เวทนาที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะทุกชีวิตที่เกิดมาแล้ว ย่อมไม่พ้นจากความแก่ ความเจ็บ และความตายไปได้ จำต้องประสบพบกับบุคคลทุกประเภท ไม่ว่าจะยากจน หรือ ร่ำรวยก็ตาม ล้วนแล้วแต่ได้พบด้วยกันทั้งนั้น



            ประการที่ 2 อดทนต่อความตรากตรำ หมายความว่า อดทนต่อความทุกข์ยากจากการทำงาน เพราะคนทุกคนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งบุคคลจะได้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต ก็จะต้องขยันประกอบอาชีพการงาน แต่ถ้าบุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ประกอบการงาน ก็จะมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก หากมีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้านแล้ว ก็จะหาทรัพย์ได้ ดั่งพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลผู้มีหน้าที่ หมั่นขยันทำสมควร ย่อมหาทรัพย์ได้"

                               เมื่อมีหน้าที่การงานแล้ว ควรเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ทำให้เหมาะสมกับหน้าที่ ไม่ทอดทิ้งการงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ควรเพียรพยายามทำให้เต็มกำลังความสามารถและสติปัญญา

                               การประกอบอาชีพการงานนั้น ย่อมประสบกับอุปสรรค ท่านที่มีปัญญาสามารถ ต้องการที่จะได้รับประโยชน์และความสุข ก็ไม่ควรทอดทิ้งหรือท้อถอย ควรใช้ความอดทนเป็นเบื้องหน้า ก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้



               ประการที่ 3 อดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า อดทนต่อความโกรธที่มากระทบกระทั่ง เพราะบุคคลทุกคน จะอยู่คนเดียวลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่คณะ เป็นครอบครัว ตลอดถึงเป็นประเทศชาติ

                                   บุคคลผู้อยู่ร่วมกันเช่นนี้ บางครั้งอาจมีความกระทบกระทั่งกัน ทะเลาะวิวาทบาดหมางกันบ้าง เพราะต่างก็มีกิเลสอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดความอดทนแล้ว ความทะเลาะวิวาทบาดหมาง ก็จะแตกแยกแผ่ขยายกว้างออกไป จนทำให้เสียหน้าที่การงานได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ประโยชน์สุขก็จะไม่เกิดขึ้น

                ดังนั้น ผู้ที่มีขันติธรรม คือ ความอดทน เป็นผู้ปราศจากเวร นอกจากจะเป็นที่รักใคร่นับถือสำหรับมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ยังเป็นที่รักใคร่นับถือของทวยเทพเทวดาทั้งหลาย ย่อมสามารถนำประโยชน์สุขมาให้แก่ตนเองและคนเหล่าอื่นได้อีกด้วย