วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พละ 5

พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ ได้แก่


     1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
 
2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
  
3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ

http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2012/06/meditation.jpg
4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน

 http://www.dmc.tv/images/ScoopUpdate/Dream07/D540915/C540917p3.jpg
5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ5เป็นธรรมที่กำจัดแก้อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์เป็นธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท

พละ5กับนิวรณ์5
     พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าพละห้า ไม่สมดุล ท่านว่าจะเกิดนิวรณ์ทั้งห้า

    -ศรัทธาพละมากกว่าปัญญาพละ จะทำให้มีโมหะได้ง่าย จนเกิดราคะ โทสะได้ง่าย ทำให้อาจเกิดกามฉันทะนิวรณ์หรือพยาบาทนิวรณ์
    -ปัญญาพละมากกว่าศรัทธาพละ จะเกิดวิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลสงสัย
    -วิริยะพละมากกว่าสมาธิพละ จะเกิดอุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ ฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
    -สมาธิพละมากกว่าวิริยะพละ จะเกิดถีนมิทธะนิวรณ์ ควางง่วงและท้อแท้ เกียจคร้าน

พละ5กับสติปัฏฐาน
     ตามหลักปฏิบัติสติปัฏฐานท่านว่าเป็นเหตุให้เกิด พละ5 ตามอารมณ์ของสติปัฏฐานที่ได้เจริญ
  
      -ศรัทธาพละ เกิดจากการกำหนดสัมปชัญญะหรืออิริยาบถย่อย เช่น กิน ดื่ม ชำระ ระหว่างปลี่ยนอิริยาบถ
      -ปัญญาพละ เกิดจากการกำหนดขณิกสมาธิหรืออารมณ์แทรก เช่น อาการ สุข ทุกข์ เฉย นึก คิด เห็น ยิน คัน ปวด ร้อน เย็น
      -วิริยะพละ เกิดจากการกำหนดการเดินจงกรม
      -สมาธิพละ เกิดจากการกำหนดในอานาปานสติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น