วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ



พุทธานุสสติ
    พุทธานุสสติ ได้แก่การน้อมจิตรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า คือ ระลึกถึงความดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งมีอยู่ ๙ ประการ ตามนัยพระบาลี พุทธานุสสติปาฐะ คือ บทสวด อิติปิโส ภควาฯ

อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต

โลกวิทู อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถาเทว มนุสสานัง พุทโธ ภควา-ติ

อิติปิโส ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๑. อรหัง ทรงเป็นพระอรหันต์ ห่างไกลจากกิเลส

๒. สัมมาสัมพุทโธ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ

๓. วิชชาจรณสัมปันโน ทรงถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ

๔. สุคโต ทรงเป็นผู้เสด็จไปดี

๕. โลกวิทู ทรงเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก

๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ ทรงเป็นผู้ฝึกคนอย่างยอดเยี่ยม

๗. สัตถา เทวมนุสสานัง ทรงเป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

๘. พุทโธ ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว (ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว จากกิเลสนิทรา)

๙. ภควา ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม

เมื่อกล่าวโดยย่อ พระองค์ทรงมีพระคุณ ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณและพระวิสุทธิคุณ

การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า จะระลึกตามบทสวดอิติปิโสทั้งหมดนั้นก็ได้ หรือจะระลึกข้อใดข้อหนึ่งก็ได้


ธัมมานุสติ

๒. ธัมมานุสติ ได้แก่การระลึกถึงคุณของพระธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีอยู่ ๖ ประการ ตามนัยพระบาลีธัมมานุสสติปาฐะ

สวากขาโต ภควาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปัสสิโก

โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ-ติ

ธัมโม พระธรรม

๑. สวากขาโต เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว

๒. สันทิฏฐิโก เป็นธรรมที่ผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลสมัย (ใช้ได้ทุกสมัย)

๔. เอหิปัสสิโก เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (ให้พิสูจน์ดูได้)

๕. โอปนยิโก เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาในตน (ดีมีประโยชน์)

๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ เป็นธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน



สังฆานุสสติ

๓. สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ซึ่งมีอยู่ ๙ ประการ ตามนัยสังฆานุสสติปาฐะ คือ บทสุปฏิปันโนฯ

สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ

อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ

ญายปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ

สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ

ยทิทัง จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐ ปุริสปุคคลา

เอส ภควโต สาวกสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกรณีโย

อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา-ติ

ภควโต สาวกสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค

๑. สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒. อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

๓. ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม

๔. สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร (เหมาะสม)

๕. อาหุเนยโย เป็นผู้ควรรับของคำนับ

๖. ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ

๗. ทักขิเนยโย เป็นผู้ควรรับของทำบุญ

๘. อัญชลีกรณีโย เป็นผู้ควรประณมมือไหว้

๙. อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โพชฌงค์ 7


     โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

 1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง

 2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

 3. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร

 4. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ

 5. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ

6. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์

7. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

     โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กัลยาณธรรม

     กัลยาณธรรม ตามรูปศัพท์ แปลว่า ธรรมอันดี, ธรรมอันงาม หมายถึงคุณธรรมที่ดีงาม ธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติของกัลยาณชน ธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นกัลยาณชน ผู้ประพฤติกัลยาณธรรมเป็นปกตินอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณชนแล้ว ชีวิตของผู้นั้นย่อมสงบสุข ไม่มีเวรภัย ไม่มีศัตรู

     กัลยาณธรรม โดยตรงคือ

1. เว้นจากฆ่าสัตว์

2. เว้นจากลักทรัพย์

3. เว้นจากพูดเท็จ

4. เว้นจากดื่มสุราเมรัย

5. ประพฤติพรหมจรรย์คือเว้นจากเมถุนธรรม

     โดยอ้อมได้แก่

     กัลยาณธรรม เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นของมนุษย์ ที่ทำให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ และทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์โลกประเภทอื่น บางครั้งจึงเรียกกัลยาณธรรมว่า มนุษยธรรม